วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

chapter 2/2 E-businees infrastructure

Blog

-  Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log

-  Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์
โดยเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ ซึ่งข้อมูลประกอบด้วยข้อความ, รูปและลิงค์

-  การเพิ่มบทความให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า “blogging”

-  บทความใน blog เรียกว่า “posts” หรือ “entries”

-  บุคคลที่โพสลงใน “entries”เรียกว่า “blogger”

จุดเด่นของ Blog

1. เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่าง
ผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านที่เป็นกล่มุเป้าหมายได้ชัดเจน

2. มีความสะดวกและง่ายในการเขียน Blog ทำให้สามารถเผยแพร่ความ
คิดเห็นของผู้เขียน blog ได้ง่ายขึ้น

3. Comment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันบางครั้งทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ

ข้อแตกต่างของ Blog กับเว็บประเภทอื่น

-  การใส่ข้อมูลใหม่ทำได้ง่าย
-  มี template อัตโนมัติช่วยจัดการ
-  มีการกรองเนื้อหาแยกตามวัน ประเภทผู้แต่งหรืออื่นๆ
-  ผู้ดูแลจัดการ blog สามารถเชิญ หรือ เพิ่มผู้แต่งคนอื่น
โดยจัดการเรื่องการอนุญาตและการเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย
-  เจ้าของ blog จะเป็นผู้สร้างหัวข้อสนทนาเท่านั้น

Blog และวิถีของผู้คน

-  Blogger หลายคนสนับสนุนแนวคิดเรื่อง open source

-  Blog ส่งผลกระทบต่อสงั คมได้ เช่นบาง Blog นั้นลูกจ้างอาจจะก่อรำคาญ
ใจต่อนายจ้างและทำให้บางคนถูกไล่ออก

-  คนใช้ Blog ในทางอื่นๆ เช่นส่งข้อความสู่สาธารณะ อาจจะมีปัญหาตามมา
ได้ คือการไม่เคารพทรัพย์สินทางปัญญา หรือการให้ข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือได้

-  บางครั้งการสร้างข่าวลือก็เอื้อประโยชน์ต่อสื่อสารมวลชนที่สนใจเรื่องนั้น ๆ ได้

-  Blog เป็นการรวบรวมความคิดของมนุษย์ สามารถนำมาใช้ช่วยกับปัญหาด้าน
จิตวิทยา , อาชญากรรม , ชนกล่มุ น้อย ฯลฯ


-  Blog เป็นช่องทางเผยแพร่งานพิมพ์อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ


ตัวอย่าง การโพสข้อความใน BLBlog


ตัวอย่างของ Blog


Internet Forum

-  ทำหน้าที่คล้าย bulletin board และ newsgroup
-  มีการรวบรวมข้อมูลทั่ว ๆไป เช่น เทคโนโลยี, เกม,คอมพิวเตอร์, การเมือง ฯลฯ
-  ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานได้
-  ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั้งโพสความคิดเห็นของตนเองลงไปได้

Wiki

-  Wiki อ่านออกเสียง "wicky", "weekee" หรือ "veekee"

-  สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้อง
สร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน

-  Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม, HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ
มีเครื่องมือที่ใช้ทำ Wiki หลายอย่าง เช่น Wikipedia เป็นต้น

-  Wikipedia เป็นระบบสารานุกรม (Encyclopedia) สาธารณะที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้
 รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย
-  มีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์วิกิที่สำคัญยิ่งในการสร้างสารานุกรม ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาร่วมกันสร้างสารานุกรมที่ http://www.wikipedia.org

-  วิกิพีเดียในภาคภาษาไทยที่ http://th.wikipedia.org

-  ในปัจจุบันวิกิพีเดียถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ

-  ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ดี พึงคงคุณลักษณะของการเปิดพื้นที่ให้กับปัจเจกบุคคลใน
การสื่อต่อสาธารณะโดยมีการควบคุมน้อยที่สุด

-  เพื่อให้การประมวลสังคม เป็นไปอย่างอิสระปราศจากการครอบงำจากเจ้าของ
เทคโนโลยีให้มากที่สุด

-  ดังนั้นการสร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมใดๆ พึงตระหนักถึงหลักการ
เคารพในสิทธิของปัจเจก (individual) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ตัวอย่างเว็บไซต์ Wiki



Instant Messaging

-  เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative privacy

-  ตัวอย่างเช่น Gtalk , Skype , Meetro , ICQ ,Yahoo Messenger , MSN Messenger และ
AOL Instant Messenger เป็นต้น

ตัวอย่างโปรแกรม Instant Messaging


Folksonomy

         ก่อนหน้าการกำเนิดขึ้นของปัจเจกวิธาน โดยทั่วไปแล้ว ได้มีการจัดกล่มุ การจัด
ระเบียบและค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ

1. ค้นหาในเนื้อความ (Text Search)
2. เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)
3. แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)

1.ค้นหาในเนื้อความ (Text Search)

-  ตัวอย่างเช่น Google ที่ก่อตั้งโดย Sergery Brin และ Larry Page
- ได้ออกแบบเพื่อจัดอันดับความสำคัญของเว็บโดยคำนวณจากการนับ Link
จากเว็บอื่นที่ชี้มาที่เว็บหนึ่ง ๆ
- เป็นที่น่าติดตามว่าจะมีเทคนิควิธีในการค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ

2. เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)

- เนื้อหาข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงลำดับเวลาโดยแสดงตามเวลาใหม่ล่าสุดก่อน
- เช่น เว็บไซต์ประเภทข่าว อย่าง CNN, BBC และ google
news เนื้อหาเก่าจะตกไปอยู่ด้านล่าง
- Blog ก็ใช้วิธีจัดเรียงตามเวลาเช่นกัน

- ทั้งนี้หากต้องการอ่านเนื้อหาเก่าก็สามารถคลิกดูที่ปฏิทินได้

3. แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)

-  การจัดระเบียบแบบนี้ยึดเอาหัวข้อเป็นหลัก แล้วแยกประเภทออกไป เช่น แบ่งหนังสือเป็นประเภทธุรกิจ, หนังสือเด็ก, นวนิยาย, คอมพิวเตอร์, ศาสนา,วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ลักษณะอื่น ๆ
-  จะช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น

ปัญหาที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต มีดังต่อไปนี้

- เนื้อหามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรายวัน
- การค้นหาข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุดทำได้ยาก เนื่องจากเนื้อหาที่มีจำนวนมาก
- การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านที่ขึ้นกับความสนใจของผู้ทำการค้นไม่ตรงจุด
- ข้อมูลที่พบอาจจะขาดความน่าเชื่อถือ

กำเนิดปัจเจกวิธาน

- Joshua Schachter เริ่มรวบรวมเก็บเว็บต่าง ๆ เป็น Bookmark ของตนเองคนเดียวไว้มากและใช้ Keyword เพื่อจัดกลุ่มแทน

- เช่น “search engine tools” และ “password security tools” เมื่อต้องการเรียกเว็บที่มีคำว่า tools
ก็จะสามารถดึงรายชื่อเว็บทั้งหมดออกมาได้ทันที

- ปัจเจกวิธาน เรียก keyword นี้ว่า tag เป็นคำสกั 2 - 7 คำที่เกี่ยวกับเว็บใหม่
ที่สามารถจัดเป็นกล่มุ เว็บได้

Tag

- วิธีการใช้ tag นี้มีความสะดวกตรงที่ไม่ต้องจำลำดับชั้นการจัดระเบียบเช่นเดิม การค้นเจอเว็บก็ได้จาก tag หลาย ๆ ตัวได้ ไม่จำกัดอยู่แต่ข้อมูลในFolder เดียวกัน Joshua นำให้ทุก ๆ คนสามารถตรวจดูเว็บที่มี
การตั้งชื่อ tag โดยผู้อื่นได้

กลุ่ม Tag ก่อตัวกันมองคล้ายกลุ่มเมฆ (Tag Cloud)

- เมื่อมีการใส่ tag เป็นจำนวนมากแล้ว ระบบของ ปัจเจกวิธาน สามารถแสดงภาพรวมออกมาได้ว่า
ทุก ๆ คนใช้ tag ใดมากน้อยเพียงใด (ดังรูป) Tag ใดที่มีคนใช้มาก ก็จะตัวใหญ่ tag ใดใช้น้อยก็จะตัวเล็ก

-  การแสดงภาพรวมนี้สามารถทำได้ทั้งของทุก ๆ คนรวมกัน หรือ เฉพาะบุคคลไป
(ซึ่งจะชี้ให้เห็นได้ว่าบุคคลนั้นสนใจเรื่องใดบ้าง)

ตัวอย่าง Tag Cloud


ตัวอย่างการค้นหาเว็บที่เกี่ยวกับ Wallpaper ใน del.icio.us


เนื้อหาข้อมูลข้ามสายกัน (Cross-Navigation)

         การใช้แกนในการค้นหาถึงสามอย่างได้ช่วยให้พบข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น แกนดังกล่าวได้แก่

• User: เว็บทั้งหมดที่ผู้ใช้ผู้นี้ใส่ tag ให้และเรียกดู tag cloud ของผู้ใช้ผู้นี้ได้ด้วย
• Tag: เว็บทั้งหมดที่มีการใส่ tag และเรียกดู tag ที่เกี่ยวข้องได้ด้วย
• URL: เว็บเว็บนี้มีใครใส่ tag บ้าง และใส่ว่าอะไรบ้าง
        การค้น อาจจะเริ่มจากที่ User แล้วไปที่แกน tag และทำให้พบ tag ที่เกี่ยวข้องได้อีก โดยไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อนแต่แรก

การใช้ tag สามารถพบได้ในการนำไปกับเนื􀀛อหาอื่น ๆ

-  Flickr.com เก็บ และ ใส่ tag ให้กับรูปภาพ
-  CiteULike.org เก็บและใส่ tag ให้เอกสารงานวิจัย (academic paper)
-  43Things.com บันทึกสิ่งที่อยากทำในชีวิตพร้อมกับใส่ tag ให้กิจกรรมนั้น
-  Tagzania.com บันทึกสถานที่ และใส่ tag ให้กับสถานที่หรือแผนที่

ตัวอย่าง tag/cat รวมภาพที่เกี่ยวกับแมวบน Flickr.com



อนาคตของ ปัจเจกวิธาน (Folksonomy)

-  ระบบการใช้ tag จะมีการนำไปประยุกต์ใช้กับ Blog และ Wiki
เพื่อความสะดวกให้การค้นหาความรู้ต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในซอฟต์แวร์ทั้งสอง

-  ในระยะยาวอาจจะมีการแข่งขันของโปรแกรมลักษณะนี้อีกก็เป็นไปได้ โดยที่
อาจจะมีคุณลักษณะเพิ่มเติมที่ง่ายต่อการใช้งาน และมีความสามารถใหม่ ๆ

Networking standards

         ในส่วนนี้จะกล่าวถึง Internet Standard เป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับทุกๆ protocol & procedure
 และระเบียบแบบแผนต่างๆ ที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นว่ามันจะเป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP protocol หรือไม่ ในกรณีของหลายๆ protocol จะถูกพัฒนาและทำให้เป็นมาตราฐานด้วยองค์กรที่

ไม่ใช่เป็นองค์กรของอินเตอร์เน็ต (non-Internet organizations)

TCP/IP

-  ข้อตกลงในการควบคุมการรับส่งข้อมูล และ internet หรือ protocol ของระบบ internet Transmission Control Protocol/Internet Protocol

-  โปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
ตามการขยายตัวของอินเตอร์เน็ต/อินทราเน็ต

-  โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ Internet Protocol
 เนื่องจาก เมื่อโปรโตคอลอื่น ๆต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเตอร์เน็ตนั้น
 จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล (encapsulation) ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุ
เส้นทาง(route service) ผ่าน Gateway หรือ Router



The HTTP protocol

-  HTTP มาจากคำว่า Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็น protocol ที่ใช้ในการส่งเดต้าต่าง ๆ
ในโลกของ World Wide Web.

HTTP เป็น network protocol ที่ใช้หลักการของ client-server model ในการติดต่อสื่อสารซึ่ง
หลักการทำงานอย่างคร่าว ๆ มีดังนี้

1. HTTP Client จะทำการสร้างคอนเนคชั่น ไปหา HTTP Server ซึ􀀩งโดยทัว􀀩 ไปจะผ่านทาง socket
ของ TCP/IP

2. หลังจากนั้น HTTP Client จะทำการส่งคำสั่ง (request) ซึ่งอยู่ในรูปของ message ไปให้ HTTP
Server เพื่อทวงถามถึง resource ที่ต้องการ

3. HTTP Server จะทำการตีความคำสั่งที่ได้และส่งผล (response) ซึ่งเป็น resource ที่ HTTP
Client ต้องการกลับมา (ผลที่ส่งกลับมาจะเป็นลักษณะของ message คล้ายกับ requet ของ HTTP
Client ที่ส่งมาให้ HTTP Server)

4. หลังจากที่การส่ง response เสร็จสิ้น, HTTP Server จะทำการปิดคอนเนคชั่น ที่มาจาก HTTP Client

5. ในกรณีที่ HTTP Client ต้องการ resource อื่น ๆ, HTTP Client จะต้องทำการสร้างคอนเนคชั่น
ใหม่และส่งคำสั่ง ไปหา HTTP Server อีกครั้ง

จากหลักการข้างต้นจะเห็นว่าการติดต่อสื่อสารระหว่าง Client และ Server จะเป็นลักษณะครั้งต่อ
ครั้ง ในทาง network เราเรียกการติดต่อสื่อสารแบบนี้ว่า Stateless Protocol

Uniform resource locators (URLs)

-  คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากร
ที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิค
และการอภิปรายทั่วไป

-  http://www.domain-name.extension/filename.html

Domain names

              คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่สามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับ
คนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ “ชื่อเว็บไซต์” คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ
ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวใน
โลกเท่านั้น

ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน LOGO

-  ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
-  Domain ต้องจดในชื่อของเราเท่านั้น Domain Ownership
-  ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
-  ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
-  ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับเราตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับเรา
เรียกว่า Registrant E-mail

-  บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของเราไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

chapter 5 E-Commerce

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)

              คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)

              พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการโกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)


การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)

-  การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
-  การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
-  การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
-  การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
-  รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
-  การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)

องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐานที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
1. ระบบเครือข่าย (Network)
2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
3. การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)

4. การรักษาความปลอดภัย (Security)

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)

              ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วยของการประยุกต์ใช้งาน
ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้
อย่างมั่นคงต่อไป สำ หรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion

การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

The Dimensions of E-Commerce



ประเภทของ E-Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
1. Business-to-Business (B2B)
2. Business-to-Customer (B2C)
3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
4. Customer-to-Customer (C2C)
5. Customer-to-Business (C2B)
6. Mobile Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce
2. Business-to-Employee (B2E)
3. Government-to-Citizen (G2C)
4. Collaborative Commerce (C-Commerce)
5. Exchange-to-Exchange (E2E)
6. E-Learning

E-Commerce Business Model

แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึง

              วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้
นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ

              วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่
 อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน

               ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ ECommerce อื่น
ตัวอย่างของธุรกิจพื้นฐานในการศึกษา ได้แก่ Consonus (ธุรกิจศูนย์ข้อมูล และ ASP), Pay Pal
(ธุรกิจชำระเงินออนไลน์), Verisign (ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล), BBBOnline (ธุรกิจรับรองการประกอบธุรกิจที่ได้มาตรฐาน), Siamguru (บริการเสิร์ชเอนจิ้น), และ FedEx (บริการจัดส่งพัสดุ) ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce โดยรวม กล่าวคือ
หากเศรษฐกิจ อยู่ในช่วงขยายตัวและมีผู้ประกอบการ E-Commerce มาก รายได้ของธุรกิจเหล่านี้
ก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากเรามองว่าธุรกิจ E-Commerce มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเติบโต
และน่าจะทำกำไรได้ในระยะยาว

ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์

             ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้า
ส่วนเกินของบริษัทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม นอกจากนี้ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของสินค้า ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ แบบ B2C
ในกรณีศึกษาได้แก่ Egghead (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์) และPriceline (สินค้าท่องเที่ยว) เป็นต้น
รูปแบบธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง คือแบบ C2C ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้
จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดประมูลซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลดังกล่าวนี้คือ Ebay ซึ่งเป็นตลาดประมูลออนไลน์ที่มีชื่อเสียง และมีผลประกอบการที่ได้กำไรตั้งแต่ปี 1996 ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มี
คุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจำเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจำนวนมาก ส่วนปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ C2C คือ ความสามารถในการสร้างความภักดีของลูกค้าและป้องกันการฉ้อโกงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

ธุรกิจที่ช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity

              รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมัก
ได้แก่ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์
 (Customer Relationship Management) ตัวอย่างของการบริหารซัพพลายเชนในกรณีศึกษา
ได้แก่ Dell (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล), Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของชำ), W.W.Grainger
 (สินค้า MRO), และ GMBuyPower (ยานยนต์) ระบบบริหารซัพพลายเชนดังกล่าวมักจะช่วยลดต้นทุน
ในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ ลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Inventory) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า

ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกจิ ทั่วไป LOGOกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี
1.สามารถเปดิ ดำเนนิ การได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครงั้ เดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย

8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสทิ ธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

Chapter 1 Introduction to E-Business and E-Commerce



ผลกระทบของการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อธุรกิจในปัจจุบัน

– ความนิยมที่ในการใช้งาน Virtual Worlds และ Social Network ที่
เพิ่มมากขึ้น
– การนำเสนอสื่อรูปแบบต่าง ๆ บนเว็บไซต์ให้น่าสนใจและมี
ปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมหรือผู้ใช้งานให้มากที่สุด
– แนวโน้มในการใช้งาน Mobile Commerce สูงขึ้นอันเนื่องมาจากการ
พัฒนาของ Mobile Device เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ Smartphone
และ Tablet
– LBS : Local Base Service ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของ
มนุษย์

โลกเสมือน (Virtual World) คือ การจำลองสภาพแวดล้อม ที่
สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้หลายคน พร้อมๆ กัน ผ่าน
เครือข่ายออนไลน์

Location Based Services (LBS) เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์
จากเทคโนโลยีไร้สาย ที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรใดๆ ระบุตำแหน่งที่
อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ

บริการเครือข่ายสังคม (social network service) เป็นรูปแบบของ
เว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต
เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับ
ความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะ
ประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลด
รูป บล็อก

ความแตกต่างระหว่าง e-commerce กับ e-business

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(ECRC Thailand,1999)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือ
การขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, 
การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, 
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร,คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล 
และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิง
พาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล
และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการ
ประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์,
การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การ
โอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การ
ประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ,
การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค,
อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้าน
การเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข,
การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)





E-business คืออะไร
     e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร
และอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ

BI=Business Intelligence:
การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน

EC=E-Commerce:
เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่าน
อินเทอร์เน็ต

CRM=Customer Relationship Management:
การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้
ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ

SCM=Supply Chain Management:
การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้า
ส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค

ERP=Enterprise Resource Planning:
กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่ง
ซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง







chapter 4 E-business strategy

ความหมายของ Strategy

การกำหนดทิศทาง และ แนวทางในการปฏิบัติในอนาคตขององค์กร
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขอองค์กรที่ได้วางไว้

ความหมายของ E-Strategy

วิธีการที่จะทำให้กลยุทธ์ขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการนำการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน ทั้งการสื่อสารภายในองค์กร และ การสื่อสารภายนอกองค์กร

Business Strategy

คือ กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้ แบบจำลองทางธุรกิจเป็นจริงได้ ทำยังไงให้การสร้างมูลค่านั้นเป็นจริงได้
แล้วทำยังไงที่จะส่งมูลค่านั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด และทำยังไงให้มันแตกต่าง การทำธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างธุรกิจออนไลน์ แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่าง
อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้จะพูดถึงตัวแบบขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทำธุรกิจ
อิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้

-  Strategic evaluation : กลยุทธ์การประเมิน
-  Strategic objectives : กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
-  Strategy definition : กลยุทธ์การกำหนดนิยาม
-  Strategy implementation : กลยุทธ์การดำเนินงาน

กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)

กลยุทธ์ เป็นตัวกำหนดทิศทางและการดำเนินงาน ด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร ไม่เพียงแต่กลยุทธ์เท่านั้นที่สำคัญ แต่การวางแผนและการลงมือจำเป็นไม่แพ้กัน สรุปปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้ซึ่งก็คือ

-  ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่
-  กำหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
-  กำหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
-  เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพอื่ ที่จะได้เปรียบคู่ค้า ในตลาด

-  จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร

องค์ประกอบที่สำคัญของกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ คือ การสร้างช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้กับองค์กร กลยุทธ์ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนหรือเหมาะสม
หากปราศจากการกำหนดเป้าหมาย การดำเนินงานจะเป็นไปอย่างเชื่องช้าและติดขัด จำเป็นที่จะต้องกำหนดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าจะถูกไปใช้ร่วมกันกับช่องทาง อื่นๆได้อย่างไร

            กลยุทธ์ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ จะสำเร็จได้เมื่อมีการสร้างคุณค่าที่ต่างกันสำหรับทุก
ฝ่ายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่เกิดขึ้นแบบเดี่ยวๆ
ดังนั้นจะต้องมีการนำ หลายๆ ช่องทางมาใช้ร่วมกัน ซึ่งการเลือกช่องทาง
อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมนั้นบางทีอาจเรียกว่า การใช้ช่องทางการค้าที่ถูกต้อง
สามารถสรุปได้ดังนี้
-  เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง
-  ใช้ช่องทางที่ถูกต้อง
-  ใช้ข้อความที่จะสื่ออย่างถูกต้อง
-  ใช้ในเวลาที่ถูกต้อง
           กลยุทธ์ของธุรกิจเล็กทรอนิกส์ ต้องกำหนดวิธีที่องค์กรจะได้รับคุณค่าจากการใช้
เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

Different forms of organizational strategy



Relationship between e-business strategy and other strategies



E-channel strategies

E-Channel ย่อมาจาก electronic channels คือ การสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า ทั้งจากลูกค้า และคู่ค้า โดยที่ช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถกำหนดวิธีการที่ใช้ทำงานร่วมกับช่องทางอื่นๆจากหลายช่องทางของกลยุทธ์ E-Business

multi-channel e-business strategy

กลยุทธ์หลายช่องทาง e - business เป็นการกำหนดวิธีการทางการตลาดที่แตกต่าง และ ช่องทางของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นจึงควรมีการบูรณาการ และ ทุกๆกลยุทธ์ควรจะสนับสนุนซึ่งกัน

ตัวอย่าง multi-channel ของกลยุทธ์การเช็คอินของ AIR ASIA









Strategy Formulation

-  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและภัยคุกคาม โดยพิจารณา ในแง่ต่างๆ
เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การต่างประเทศ ตลาด ลูกค้า คู่แข่ง ผู้สนับสนุน
วัตถุดิบ และตลาดแรงงาน ฯลฯ

-  การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน เช่น ความสามารถ ด้านการตลาด
การผลิต การเงิน สารสนเทศ กฎระเบียบ การจัดการ และ ทรัพยากรบุคคล ฯลฯ

-  การกำหนดหรือทบทวนวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การเพื่อกำหนดให้แน่ชัดว่า
    • องค์การของเราจะมีลักษณะเช่นใด
    • มีหน้าที่บริการอะไร แก่ใครบ้าง
    • โดยมีปรัชญา หรือค่านิยมหลักในการดำเนินการเช่นใด

-  การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การในระยะของแผนกลยุทธ์


-  การวิเคราะห์และเลือกกำหนดกลยุทธ์และแนวทางพัฒนาองค์การ

Strategic Implementation

-  การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน

-  การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการ

-  การปรับปรุง พัฒนาองค์การ เช่น ในด้านโครงสร้างระบบงาน ทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรมองค์การ
และ ปัจจัยการบริการต่างๆ ในองค์การ

Strategic Control and Evaluation

-  การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์

-  การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ทีอาจเปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งอาจทำให้ต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์

Strategy process models for e-business

การจัดวางกลยุทธ์



การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
การควบคุมและประเมินผล

chapter 3 E- ENVIRONMENT

Business Environment

           นักปราชญ์ชาวจีนนาม ซุนวู ได้กล่าวไว้ในตำราพิชัยสงครามว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” คำกล่าวนี้จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อการจัดการธุรกิจการที่จะ
“ รู้เขา ” ได้นั้นจะต้องศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกเสียก่อน ส่วนการ “รู้เรา” ก็คือการศึกษาสภาพแวดล้อมภายในเป็นลำดับถัดมานั่นเอง การแข่งขันกันในเชิงธุรกิจผู้ที่จะชนะและสามารถครอบครองตลาดได้นั้นจึงจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั้งภายนอกและภายในก่อนการลงสนาม


สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่
-   สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือ สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจ

-  สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึงปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค
(Micro External Environment)

คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ แต่สามารถเลือกที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม  แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
-  ตลาด หรือลูกค้า (Market)
-  ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
-  คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)

-  สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค
(Macro External Environment)

คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4ประการ ได้แก่
-  ด้านการเมืองและกฎหมาย
-  เศรษฐกิจ
-  สังคม

-  เทคโนโลยี

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ


S (Strengths) จุดแข็ง

เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่ จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่างผู้บริหารและบุคลากร

W (Weaknesses) จุดอ่อน

เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดบาง
ประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข เช่น ขาดสภาพคล่อง
ทางการเงิน สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพ ไม่คงที่ ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร ฯลฯ

O (Opportunities) โอกาส

เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ

T (Threats) อุปสรรค

เป็นปัจจัยภาย นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ และเป็นสภาวการณแวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย เช่น รัฐบาลขึ้นภาษี ปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้นเกิดภัยสงครามหรือภัยธรรมชาติ ฯลฯ

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix




กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy)

เป็น การใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มี ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก

กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy)

เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็น จุดแข็งและ
ข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน

กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)

เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข

กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy)

เป็น การขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ

E-environment




Social Factor

           สภาวะแวดล้อมทางสังคมเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมประกอบไปด้วย ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งในแต่ละสังคมก็จะมีทัศนคติทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม ที่ แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยน แปลงทางด้านประชากร บทบาทหรือสถาน ภาพของบุคคลและระดับชนชั้นทางสังคม ภูมิศาสตร์หรือกายภาพรอบๆ ธุรกิจ สภาพ ของดิน น้ำ แร่ธาตุ หรืออากาศ เช่น ภาวะโลก ร้อน ภัยธรรมชาติคลื่นยักษ์
สึนามิ (Tsunami) โรคระบาด ซึ่งธุรกิจไทยและทั่วโลกเคยเผชิญมาแล้ว คือโรคไข้หวัดนก ในปี พ.ศ.2550 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจอุตสาหกรรมสัตว์ปีกและการท่องเที่ยว สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A : H1N1) โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2552)คาดว่าเชื้อไวรัสนี้จะยังคงแพร่ระบาดรุนแรงต่อไปตลอดช่วงไตรมาสที่ 3 นี้และมีโอกาสที่จะคงอยู่ยาวนานไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2552หากมาตรการของรัฐยังไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคให้ชะลอลงได้

Political and Legal Factor

          สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายประกอบธุรกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อยๆ นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะอ่อนไหวกับปัจจัยทาง การเมือง เพราะเกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุนกฎ ระเบียบที่ใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศ

Economic Factor

           สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ(Economic) เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้
ให้เห็นปริมาณการจัดสรรและการใช้ทรัพยากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจมี
แรงผลักดันที่สำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ ซึ่งมีปัจจัยที่จะต้อง
นำมาศึกษาหลายปัจจัย เช่น

          ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) นับได้ว่าเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นการชี้นำว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไรและจะส่งผลกระทบต่ออำนาจในการบริโภคของประชากรโดยรวมในทิศทางใด ซึ่งในปี พ.ศ.2552 นี้ คาดว่า GDP ของ ประเทศ จะขยายตัวประมาณ 1.2% และในกรณีเลวร้ายอัตราการขยายตัวของ GDP อาจลงไปที่ 0.0% คาดว่าการบริโภคของภาคเอกชนจะขยายตัวในระดับต่ำ อยู่ที่ประมาณ 0.3-0.8% จาก 2.2% ในปี พ.ศ. 2551(ข่าวสด, 2552)

         ค่าเงินบาท ธุรกิจที่เสียประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ส่งออกที่ใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก แต่ในทางกลับกันการแข็งค่าของค่าเงินบาทจะมีกลุ่มธุรกิจประเภทที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์ โดยสาเหตุที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัยเช่น การอ่อนค่าของเงินสกุลต่างประเทศ การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติในประเทศไทย หรือการเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย

         อัตราการว่างงาน ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงานขึ้นในทุกประเทศ จากการรายงานของสำนักงาน สถิติแห่งชาติ พบว่าภาวการณ์ทำงานของประชากรไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2551 มีผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด 38.34 ล้านคน มีงานทำแล้ว
37.84 ล้านคน และกำลังรอทำงานอีก 5 หมื่นคน จึงยังคงมีผู้ว่างงานจริงประมาณ 4.5 ล้านคน ที่บริษัทสามารถคัดเลือกเข้าทำงานได้

         ภาวะราคาน้ำมัน ความผันผวนของราคาน้ำมันที่ผ่านมาเป็นที่ชัดเจนว่าไม่มีใครสามารถกำหนดราคาน้ำมันล่วงหน้าได้ นับ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2551 ราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้นจาก 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อต้นปี ไปแตะจุดสูงสุดที่ 145.29 ดอลลาร์ในวันที่ 13 กรกฎาคม ก่อนจะตกต่ำมาแตะจุดต่ำสุดในรอบปีที่ 31.41 ดอลลาร์ในวันที่ 22 ธันวาคม ในขณะที่ช่วงไตรมาส 2 ของปี พ.ศ.2552 กลับมาอยู่ที่ 60 ดอลลาร์

        ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอัตราดอกเบี้ยจะขยับตัวสูงขึ้นทำ ให้ต้นทุนการผลิตของกิจการ หรืออุตสาหกรรมต่างๆ สูงขึ้นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้ามหากสภาพคล่องทาง การเงินมีมาก อัตราดอกเบี้ยจะลดต่ำลง ผู้คนในสังคมจะมีกำลังซื้อมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมขยายตัว ธุรกิจต่างๆ รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ก็จะได้รับผลดีตามไปด้วย

Technological Factor

              สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็นยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ เช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การใช้ชุดคำสั่ง(Software) เพื่อช่วยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้แทนแรงงานของคน ส่งผลให้องค์กรต้องลดจำนวนพนักงานลงและต้องเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานที่เหลือ มาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบไปถึงสถานที่ ห้องทำงาน ลักษณะงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการต่างๆ

chapter 2/1 E-businees infrastructure

การกำหนดคำนิยาม (Definition)

การกำหนดคำนิยามของคำว่า technology infrastructure ต้องคำนึงถึงโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีที่มีผลต่อคุณภาพการบริการแก่ ผู้ใช้งานของระบบทั้งในแง่ของ ความเร็ว(Speed) และ การตอบสนองต่อ การร้องขอระบบ (responsiveness)

การให้บริการ e - business ให้ผ่านมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีนั้น
ต้องกำหนดความสามารถขององค์กรในการแข่งขันทางธุรกิจผ่านการความแตกต่างให้กับตัวเอง
ในตลาด

ความหมาย E-business infrastructure

หมายถึงการรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client PC ในองค์กร
รวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์
ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้า
ของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน

Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย


Internet technology

-    Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก
แต่ในการถ่ายโอนข้อมูลนั้นไร้รอยต่อของวิธีการเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
การร้องขอข้อมูลจะถูกส่งจากคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์และอุปกรณ์มือถือที่มี
ผู้ใช้ร้องขอการบริการให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลโปรแกรม
ประยุกต์ทางธุรกิจและโฮสต์ที่ส่งมอบการบริการในการตอบสนองต่อการร้องขอ
ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client /Server




Hosting of web sites and e-business services




ตัวอย่าง Hosting ในไทย

Intranet applications

อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดย
เน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ
supply-chain management โดยการตลาดเครือข่าย
อินทราเน็ตมีข้อได้เปรียบต่อดังนี้

-  Reduced product lifecycles – as information on product development and
marketing campaigns is rationalized we can get products to market faster.
-  Reduced costs through higher productivity, and savings on hard copy.
-  Better customer service – responsive and personalized support with staff
accessing customersover the web.

-  Distribution of information through remote offices nationally or globally.

Extranet applications

-  เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจาก
ภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง

-  การประยุกต์ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตโปรแกรมนั้น ข้อมูลซอฟต์แวร์จะจำกัด การเข้าถึง

ของ บริษัท

-  เช่น www.ifrazone.com เหมาะกับธุรกิจแบบ B2B


Encouraging use of intranets and extranets



Web technology

-  คำว่า World Wide Web, หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือ
ขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต
โดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language)

-  หรือ การบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ต
สำหรับผู้พัฒนาเว็บ 



ความรู้เบื้องต้นการใช้งานอินเทอร์เน็ต 

-  โปรโตคอล เป็นเพียงข้อตกลงกันระหว่าง 2 ฝ่ายที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถ
สื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง และราบรื่นมากที่สุด

-  การใช้บริการเว็บจะทำงานภายใต้ โปรโตคอล HTTP

-  โดยโปรโตคอลจะเป็นตัวกำหนดวิธีการส่งข้อมูลหรือไฟล์ ระหว่างเครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่เป็น Client และ Server รวมถึงการกำหนด กฏระเบียบในการติดต่อ
ด้วย เราจะใช้โปรแกรมประเภท Browser เป็นตัวช่วยในการติดต่อสื่อสารได้ง่าย
ขึ้น

-  อินเทอร์เน็ต หมายถึง ลักษณะของการเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งเล็ก
และใหญ่จำนวนมากเข้าด้วยกัน

Web browsers and servers

-  เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ

-  รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
 Internet Explorer
 Mozilla Firefox
 Google Chrome
 Safari

-  เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server)
 แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์

-  ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมที่นำมาทำ เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 4
อันดับแรก คือ
 Apache HTTP Server จาก Apache Software Foundation
 Internet Information Server (IIS) จากไมโครซอฟท์
 Sun Java System Web Server จากซัน ไมโครซิสเต็มส์
 Zeus Web Server จาก Zeus Technology


browser compatibility

           การตรวจสอบเว็บไชต์สามารถรองรับกับการเข้าชมเว็บไซต์ผ่าน Browser
ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งเมื่อนักพัฒนาโปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ขึ้น
มาแล้วต้องคำนึงถึง เว็บไชต์นั้นๆ สามารถใช้งานผ่าน browser ต่างๆได้
หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยทดสอบ ในเรื่องของ browser compatibility เช่น








Internet-access software applications

-  Evolution Web 1.0, Web 2.0 to Web 3.0



Web 1.0 = Read Only, Static Data with simple markup

Web 1.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว ( Read-only ) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถ
แก้ไขข้อมูล หน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ ( Web master )เป็นเว็บที่
ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่สามารถมีส่วนร่วมกับเว็บดังกล่าวได้ ถือว่าเป็นเว็บรุ่นแรกของเทคโนโลยีเว็บไซต์
ส่วนมากจะใช้ภาษา html (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษา
สำหรับการพฒั นา Web 1.0 นั้นเป็นเรื่องของการที่ผู้ให้บริการนำเสนอข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไป
โดยทำในลักษณะเดียวกับหนังสือทั่วไป ที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมน้อยมากในการเติมแต่งข้อมูล ต่อมาเริ่มมี

การนำเอา Java Script และภาษา PHP (Hyper Text preprocessor)มาใช้งาน

Web 2.0 = Read/Write, Dynamic Data through Web Services

Web 2.0 คือ ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ ( Read-Write ) เป็ นเทคโนโเว็บไซต์ที่
พัฒนาต่อจาก web 1.0 เป็ นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น เว็บ
บอร์ด เว็บบล็อก วิพีเดีย เป็นต้น ซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้อกับเทคโนโลยีนี้ด้วย บุคคล
ทั่วไปคือผู้สร้างเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ จาก Web 2.0 ในเปลือกนัท ทำให้เรา
เข้าใจว่าในยุคที่ 2 นั้นเป็ นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง โดยการ
สร้างเสริมข้อมูลสารสนเทศ ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ดังตัวอย่างที่เป็นสิ่งที่
ทุกคนคงรู้จักกันดีอย่าง Wikipedia ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุก
อย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูลของแต่ละ

บุคคลทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมากที่สุด และจะถูกมากขึ้น เมื่อเรื่องนั้นถูกขัดเกลามาตามระยะเวลายาวนาน

1. ยกตัวอย่าง website ได้แก่ PANTIP.COM มีวิธีการใช้งานคือ คลิกที่นี่การสมัครสมาชิก
2. การเข้าสู่ระบบเพื่อใช้งานเว็บบอร์ด เช่น การใส่ User Name จากนั้นก็ใส่รหัส
3. การแก้ไขข้อมูลส่วนตัว
4. การโพสต์ หรือ การสร้างกระทู้คำถาม จากนั้นก็จะมีผู้สนใจหรือผู้รู้เกี่ยวกับการโพสต์มาตอบคำถาม





Web 3.0 = Read/Write/Relate, Data with structured Metadata + managed identity

Web 3.0 เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ให้อยู่
ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บ
กลายเป็น Semantic Web คือ ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น
แล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทน โดยข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag หนึ่งโดย
ปริยาย ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูล ความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่าง
เป็นระบบมากขึ้น Web 3.0 จะพัฒนาไปในลักษณะ Segment of One คือ Segment ที่มีบุคคลแค่คน
เดียว หรือ ตอบโจทย์ความเป็นส่วนบุคคล เช่น อยากไปเที่ยวภูเขาไฟฟูจิ เมื่อค้นข้อมูลแล้วเว็บไซต์จะ
เชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดออกมา ไม่ว่าจะจากสายการบินต่างๆ แพ็กเกจไหนดีที่สุด และนำมาเช็ค กับ
ตารางของผู้ใช้ว่าตารางเวลาตรงกันไหม หรือจะนำไปเช็คกับตารางของเพื่อนที่ญี่ปุ่นใน Social Network เพื่อนัดเวลาที่ตรงกันเพื่อพบปะทานข้าวร่วมกันก็ได้ ในยุคสื่อดิจิตอล

เว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนา จะประกอบด้วย

1. AI (Artificial Intelligence)
2. semantic web
3. Automated reasoning
4. semantic wiki
5. ontology language หรือ OWL

web 3.0

AI (Artificial Intelligence)

หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นการสร้างความฉลาดให้ระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถ
คาดเดาพฤติกรรมและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งานเว็บช่วยในการค้นหา
ข้อมูลซึ่งมีจำนวนมากเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด

semantic web

คือ การรวมของฐานข้อมูลแบบ อัตโนมัติโดยใช้การคาดเดาและหลักทางคณิตศาสตร์
เข้ามาช่วย ซึ่งผลลัพธ์ของ Application ที่สร้างขึ้นบน Semantic Web จะถูกส่งไปยัง
อินเทอร์เน็ต และส่งต่อไปยัง Web Browser

Automated reasoning

การเขียนโปรแกรมให้ระบบคอมพิวเตอร์รู้จักการแก้ปัญหาเอง มีการประมวลผลได้อย่าง
สมเหตุสมผลพร้อมทั้งแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเองได้โดยอัตโนมัติ

semantic wiki

เป็นการอธิบายคำๆหนึ่งคล้ายกับดิกชันนารีดังนั้นทำให้เราสามารถหาความหมายหรือ
ข้อมูลต่างๆได้ละเอียดและแม่นยำมากขึ้น

ontology language หรือ OWL

เป็นภาษาที่ใช้ในการอธิบายสิ่งต่างๆให้มีความสัมพันธ์กันโดยดูจากความหมายของสิ่ง
นั้นๆซึ่งก็จะเชื่อมโยงกับระบบ Metadataคือภาษาที่ใช้เป็นตัวอธิบายข้อมูลเชิงสัมพันธ์
(Data about Data) หรือ “ข้อมูลที่ใช้อธิบายความหมายของข้อมูล” หรือ Tags นั้นเอง


ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่



            ดิฉันเป็นคนสุโขทัยแต่มาเรียนอยู่ที่เชียงใหม่มาอยู่ได้สามปีแล้ว เนื่องในวันลอยกระทง
ดิฉันก็มีโอกาศได้เที่ยวงานประเพณียี่เป็งของจังหวัดเชียงใหม่  ได้ไปเที่ยวชมปีนี้เป็นปีที่สาม
ก็ประทับใจทุกครั้งที่ได้ไปเที่ยวได้ถ่ายรูปสวยๆประทับใจกับประเพณียี่เป็งเชียงใหม่เป็นประเพณี
ที่งดงาม ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามหาชมได้ยาก มีทั้งขบวนโคมที่เป็นสัญลักษณ์เมืองล้านนา ประกวดเทพียี่เป็งเทพบุตรยี่เป็ง และขวบกระทงอันงดงาม ดิฉันชอบมาก เลยถ่ายรูปมาฝากทุกคนค่ะ













       ขอฝากให้ทุกคนได้ลองมาเที่ยวประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ด้วยนะคะ สวยงามจริงๆ