วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 7 Supply Chain Management

Supply Chain Management

           ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่suppliers, manufacturers,
distributorsเพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ
สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ







ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน

              การกำเนิดระบบการบริหารซัพพลายเชนกล่าวกันว่ามีต้นแบบมาจากการส่ง
ลำเลียงเสบียงอาหารและอาวุธยุโธปกรณ์ตามระบบส่งกำลังบำรุงของทหาร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามที่ต้องการความมั่นใจว่าอาวุธและเสบียงอาหาร
จะต้องจัดส่งให้เพียงพอกับความต้องการและไปยังสถานที่ที่กำหนดอย่างถูกต้องตรงเวลา
เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด จึงจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนจัดลำดับก่อนหลัง
และรักษาประสิทธิภาพในการสื่อสารที่รวดเร็วและแม่นยำ

ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าวได้นำมาพัฒนาและดัดแปลงให้กับธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม
เพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง โดย Helen Peek และคณะได้
กล่าวถึงระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแแบบพื้นฐาน
(The Baseline Organization)

               เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดของ
องค์กร โดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก/ฝ่ายซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้
อาจไม่สามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ในตลาดของผู้บริโภคเนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่ายต่างทำงานเป็นอิสระต่อกันไม่เกี่ยวกัน

ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน
(The Functionally Integrated Company)

              ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/
ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะ
ไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากันอย่างเด็ดขาดเหมือนระยะแรก เช่น
ฝ่ายจัดการวัตถุดิบมีหน้าที่จัดซื้อ จัดสรรควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่น
ฝ่ายการผลิตมีหน้าที่การตลาดและขายสินค้า เป็นต้น

ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน
(The Internally Integrated Company)

              ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่อง
จากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการติดต่อประสานงาน
เชื่อมโยงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่
นอกจากนั้นกิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กร
ได้ด้วย ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง

ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน
(The Externally Integrated Company)

              ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว
โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเอง
ไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก
โดยเข้าไปทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทำงานเดียวกัน
เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตวัตถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบ
ในโรงงานของซัพพลายเออร์และในบางกรณีบริษัทผู้ผลิตอาจเปิดโอกาสซัพพลายเออร์
เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อย เพื่อนำส่งวัตถุดิบให้กับริษัทได้อย่างสะดวก
รวดเร็วและประหยัดต้นทุน

การบริหารจัดการซัพพลายเชน

             เปนการจัดการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคู่ค้าที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชน
เราเป็นสำคัญ องค์กรที่มีความรู้ในการบริหารจัดการดีควรต้องถ่ายทอดแนวคิด
และวิธีการปรับปรุงระบบงานและการประสานงานระหว่างองค์กรให้แก่องค์กรอื่นๆ
ในซัพพลายเชน การพัฒนาศักยภาพของซัพพลายเชนนั้น นอกจากระบบการ
ประสานงานที่ดีภายในองค์กรแต่ละองค์กรแล้ว จะต้องพิจารณาความสามารถ
ในการประสานระบบงานระหว่างองค์กรใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่

1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม
suppliers (Supply-management interface capabilities)

               เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ำที่สุด มีระบบโลจิสติกส์ในการส่ง
ผ่านวัตถุดิบ ผลิต และส่งมอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ประสิทธิภาพของ
ระบบโลจิสติกส์ในการแข่งขันเชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์ระบบการส่งมอบสินค้าที่รวดเร็ว
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
(Demand-management interfacecapabilities)

               เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อการให้บริการที่มีคุณภาพและการสร้างความ
พึงพอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการขาย เพื่อสร้างความได้เปรียบเพิ่มขึ้น
ในเชิงการแข่งขันคุณภาพโลจิสติกส์ที่ต้องการคือ ความรวดเร็ว การมีสินค้าพร้อม
จำหน่ายเมื่อลูกค้าต้องการ การส่งมอบสินค้าที่สมบูรณ์สอดคล้องตามความต้องการ
ของลูกค้าและการมีระบบสื่อสารที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสอบถาม
และร้องเรียนกับทางบริษัทได้สะดวก ศักยภาพในการบริการยังหมายถึง ความสามารถใน
การให้บริการที่ยืดหยุ่นมากขึ้นในแง่ของการเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อในเรื่องของปริมาณ
สถานที่ ชนิด ได้ในระยะเวลากระชั้นมากขึ้น ตลอดจนความสามารถในการผลิต
และส่งมอบสินค้าในปริมาณมากด้วยความรวดเร็วได้เมื่อเกิดความต้องการสินค้า
แบบไม่คาดหมายขึ้น

3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ
(Information management capabilities)

                 ระบบสื่อสารระหว่างองค์กรในซัพพลายเชนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่บริษัท
ข้ามชาติจะเริ่มต้นประกอบการในประเทศต่างๆ จะต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานทาง IT
พิจารณาวางแผนกับปัญหาในเรื่องการประสานข้อมูลต่างๆ ทั้งในระบบองค์กร
และระหว่างองค์กรโดยพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กับการวางกลยุทธ์ระบบสื่อสารที่ดี
ทำให้เกิดความรวดเร็วและประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานได้มาก

ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน

             การจัดการซัพพลายเชนให้ประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องการ
อย่างไรก็ตามในบางครั้งการจัดการซัพพลายเชนอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้น
ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

1. ปัญหาจากการพยากรณ์

            การพยากรณ์ความต้องการสินค้าเป็ นสิ่งที่สำคัญมากในการจัดการซัพพลายเชน
ซึ่งการพยากรณ์ที่ผิดพลาดมีส่วนสำคัญที่ทำให้การวางแผนการผลิตผิดพลาด
และอาจจะทำให้ผู้ผลิตมีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าที่เกิดขึ้น

2. ปัญหาในกระบวนการผลิต

             ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาจจะทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามเวลา
ที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องจักรเสียทำให้ต้องเสียเวลาส่วนหนึ่งในการซ่อมและปรับตั้งเครื่องจักร

3. ปัญหาด้านคุณภาพ

             ปัญหาด้านคุณภาพอาจจะส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก และทำให้
ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ตามที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นระบบ
การขนส่งที่ไม่มีคุณภาพสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในโซ่อุปทานได้เช่นกัน

4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า

             การส่งมอบที่ล่าช้าเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่องของวัตถุดิบ งานระหว่างทำและสินค้า
สำเร็จรูป เช่น ซัพพลายเออร์ส่งมอบวัตถุดิบล่าช้า ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าได้
ตามตารางการผลิตที่กำหนดไว้ นอกจากนั้น ในระหว่างกระบวนการผลิต การส่งต่องาน
ระหว่างทำที่ล่าช้าตามไปด้วยในกรณีที่ไม่สามารถปรับตารางการผลิตได้ทัน ยิ่งไปกว่านั้น
การส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปให้ลูกค้าล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อระดับการให้บริการลูกค้า
และความสามารถในการแข่งขันของกิจการ

5. ปัญหาด้านสารสนเทศ

            สารสนเทศที่ผิดพลาดมีผลกระทบต่อการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งทำให้การผลิต
และการส่งมอบสินค้าผิดไปจากที่กำหนดไว้ ความผิดพลาดในสารสนเทศที่เกิดขึ้น
มีหลายประการเช่น ความผิดพลาดในการสั่งซื้อวัตถุดิบ การกำหนดตาราง
การผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การขนส่ง ฯลฯ

6. ปัญหาจากลูกค้า

           ปัญหาที่เกิดจากลูกค้าเป็นความไม่แน่นอนอย่างหนึ่งของโซ่อุปทาน เช่น ลูกค้ายกเลิกคำสั่ง
ในบางครั้งผู้ผลิตได้ทำการผลิตสินค้าไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ได้รับการยกเลิกคำสั่งซื้อจากลูกค้า
ในเวลาต่อมา จึงทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังส่วนนั้นไว้

ตัวอย่างปัญหาของการจัดการโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  เช่น



เทคโนโลยีสารสนเทศในซัพพลายเชน

               เทคโนโลยีช่วยในการจัดการซัพพลายเชน การจัดระบบซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพ
นั้นกล่าวกันว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการจัดการในเรื่องความต้องการของผู้บริโภค
ที่มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ (Demand management) ให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
โดยดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่หน่วยที่เป็นต้นทางวัตถุดิบถึงขั้นสุดท้ายของกระบวนการ
จัดการระบบซัพพลายเชน การจัดหาสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ
ของผ้บูริโภคได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)

              ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(e-Commerce) เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดำเนิน
งานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
จะมีการทำธุรกรรมผ่านสื่อต่างๆทางอิเล็กส์ทรอนิกส์ เช่น การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

ธุรกิจที่อยู่ในโซ่อุปทานส่วนใหญ่จะมีการดำเนินธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์กับซัพพลายเออร์
และลูกค้าประโยชน์ที่ได้รับจากการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มีหลายประการ เช่น

 -   เกิดการประหยัดต้นทุน เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยี
แทนแรงงานคน ซึ่งทำให้ราคาของสินค้าลดลง

 -  ลดการใช้คนกลางในการดำเนินธุรกิจ เช่น ผู้ค้าส่ง
ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการ ฯลฯ

 -   ลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็ นระหว่างโซ่อุปทาน

 -  ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากสารสนเทศมากขึ้น

การใช้บาร์โค้ด (Barcode)

              บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์โดยจะประกอบ
ไปด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและ
ตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner บาร์โค้ดจึงทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล
ต่างๆของสินค้า อาทิ หมายเลขของสินค้า ครั้งที่ทำการผลิต เลขหมายเรียงลำดับกล่อง
เพื่อการขนส่ง ปริมาณสินค้าที่ผลิต รวมถึงตำแหน่งผู้รับสินค้า เป็นต้น


การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
(EDI : Electronic Data Interchange)

               เป็นเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการซัพพลายเชน
เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในรูป
สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยรูปแบบข่าวสารข้อมูลนั้นจะมีการจัดรูปแบบและมีความเป็น
มาตรฐานเดียวกันตามที่ได้ตกลงกันไว้ เรียกว่าEDI Message ผ่านเครือข่ายการสื่อสาร (TelecommunicationNetwork) ทำให้เพิ่มความถูกต้องและรวดเร็วในการทำงาน

การใช้ซอฟแวร์ Application SCM

                การนำซอฟแวร์มาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานในปัจจุบันยกตัวอย่างเช่น
Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นซอฟแวร์ที่จัดเป็นระบบศูนย์กลางของ
องค์กรทั้งหมด ทำหน้าที่ประสานงานหลักๆ ในด้านต่างๆ เช่น การเงิน การผลิต
และการจัดคลังสินค้า

                Advance Planning and Scheduling จัดสร้างแผนการผลิตและจัดตารางเวลา
โรงงานการผลิต ใช้เงื่อนไขข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ทางธุรกิจในการปรับตารางให้ดีที่สุด

               Inventory Planning วางแผนคลังสินค้าที่จำเป็นในแต่ละจุดเพื่อกระจายการจัดส่ง
เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด

               Customer Asset Management ใช้สำหรับจัดระบบการสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้า
รวมทั้งระบบขายอัตโนมัติและการให้บริการลูกค้า เป็นต้น

              ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตระบบ ERP หลักๆ มีอยู่ 5 รายด้วยกัน คือ SAP, ORACLE,
Peoplesoft, J.D. Edwards และ Baan


            อย่างไรก็ตามความร่วมมือกันบริหารงานในระดับซัพพลายเชนคงต้องมีกลไก
ให้มีการร่วมคิดร่วมพัฒนาระหว่างองค์กรอย่างต่อเนื่อง ความเข้าใจและการผลักดันของ
ผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กรมีความสำคัญยิ่ง การจัดตั้งทีมงานร่วม (crossfunctionalteam) 
ที่จะประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถจากทุกองค์กรในซัพพลายเชนมาร่วมกันวางแผน
หาจุดอ่อน และพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในภาพรวม จะช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างกันได้
รวดเร็วและเป็ นรูปธรรม ความแตกต่างกันระหว่างองค์กรทั้งในเรื่องวัฒนธรรม แนวความคิด 
ขนาดองค์กร

            แนวทางการปฏิบัติงาน และเทคโนโลยี จะได้มีการปรับให้สอดคล้องกันมากขึ้น
ตามลำดับ เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกันคือความสามารถในการแข่งขันและความพึงพอใจ
ของลูกค้าเรานั่นเอง



THE MINOR GROUP



นายวิลเลียม อี. ไฮเนคกี้
“การทำธุรกิจโอกาสมีอยู่ทุกที่ แต่ต้องสร้างการแข่งขัน
และหาโอกาสที่เหมาะสม
ไม่ใช่แค่มองว่า ทำอะไรก็ได้ เพราะมันไม่ง่ายอย่างที่คิด”

ก่อนจะเป็น เดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป

               เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2520 จากการทำธุรกิจเทรดดิ้ง ขายอุตสาหกรรม หลังจากนั้น
นายวิลลเลียม อี. ไฮเนคกี้ ผู้ก่อตั้งและประธานของเดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป ได้ขยายเข้าสู่
ธุรกิจฟาสต์ฟูดในปี 2551 เริ่มจากเชนร้านไอศครีมชื่อ ศาลาโฟร์โมสต์ มิสเตอร์โดนัท
และพิซซ่า ฮัท พร้อมกับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการส่งออก และธุรกิจโรงแรม

                แต่มาโด่งดังและประสบความสำเร็จสูงสุดจากการเปิดตัวแฟรนไชส์
ร้านพิซซ่า ฮัท แห่งแรกที่พัทยา เมื่อประมาณ 25-26 ปีก่อน จากนั้นมากิจการ
เติบโตอย่างรวดเร็วโดยสามารถขายเครือข่ายได้มากกว่า 100 แห่ง และกลาย
เป็นที่รู้จักในวงกว่งเมื่อ ไทรคอน เรสเทอรองต์ อินเตอร์เนชั่นแนลเจ้าของแฟรนไชส์
จากอเมริกาไม่ยอมต่อสัญญาแฟรนไชส์ จนเกิดเป็นคดีความประวัติศาสตร์ขึ้นในที่สุด

               และสุดท้าย ไมเนอร์ กรุ๊ป เป็นผ่ายชนะคดี และกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่
ซึ่งหลังจากนั้น ไมเนอร์ กรุ๊ป ได้หันมาสร้างแบรนด์ของตัวเองภายใต้ชื่อ
“เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” และกลายเป็นแบรนด์ไทยที่สามารถเป็นผู้นำตลาด
ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

               ในปัจจุบันธุรกิจอาหารถือเป็ นเส้นเลือดใหญ่ที่ทำรายได้ให้กับกลุ่มมากกว่า 50%
จากรายได้รวมทั้งกลุ่มซึ่งมากกว่า 10,000 ล้านบาท โดยไมเนอร์ กรุ๊ป ตั้งเป้าขยายจำนวน
ร้านอาหารให้ได้มากกว่า 1,200 แห่งทั่วโลกภายในปี 2553 โดยจะใช้วิธีการเข้าซื้อกิจการ
เป็นกลยุทธ์หลักในการเติบโตแบบก้าวกระโดด ภายใต้แนวคิด “เทกโอเวอร์ปี ละ 2 กิจการ
และขายแฟรนไชส์ทุกแบรนด์”

การลงทุนในด้านอื่น ๆ

              ไมเนอร์ กรุ๊ป ยังได้ลงทุนในโรงงานเสริมธุรกิจอาหาร คือลงทุนในโรงงานผลิตชีส
ที่ประกอบด้วย บจก.ไมเนอร์ แดรี่ ฯ และบจก.ไมเนอร์ ชีสฯ เพื่อป้อนวัตถุดิบให้กับธุรกิจอาหาร
และส่งออกไปต่างประเทศด้วย ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิต ซึ่งนับเป็นแฟรนไชส์
ฟาสต์ฟูดรายแรกที่ลงทุนสร้างโรงงานเพื่อต่อยอดธุรกิจให้ครบไลน์ และถือว่าโรงงานดังกล่าว
ถือเป็นจุดแข็งของไมเนอร์ ในการขยายฐานด้านธุรกิจอาหาร








                นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจรับจ้างผลิต คือ โรงงานนวศรี แมนูแฟคเจอริ่ง
ซึ่งมีลูกค้าหลัก 5 รายใหญ่ เช่น ยูนิลีเวอร์, เอส.ซี. จอห์นสัน แอนด์ ซัน, คอลเกต-
ปาล์มโอลีฟและไลอ้อนเป็ นโรงงานที่ได้รับรางวัลพันธมิตรทางธุรกิจระดับโลก
ในด้านคุณภาพจากบริษัท เอส.ซี. จอห์นสัน แอนด์ ซันฯ

                ส่วนรายได้ของกลุ่ม ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่นนั้น มาจากธุรกิจค้าปลีกเป็นหลัก
ได้แก่ เครื่องสำอางค์ สินค้าแฟชั่น คิดเป็น 52% ของรายได้, กลุ่มรับจ้างผลิต
คิดเป็น 42% และอีก 6% เป็นธุรกิจอื่น ๆ






สรุปเส้นทาง เดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป

2518 ตั้ง มิสเตอร์โดนัท แฟรนไชส์ร้านอาหารจานด่วนแห่งแรกขึ้นในไทย

2522 เปิดและปิดมิสเตอร์โดนัทในมาเลเซีย

2523 เปิดพิซซ่า ฮัท แห่งแรกในพัทยา

2529 เปิดร้านไอศครีมสเวนเซ่นส์แห่งแรก

2532 เริ่มบริการส่งพิซซ่า ฮัท ถึงบ้าน

2533 นำบริษัท เดอะ พิซซ่า จำกัด จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

2534 เปิดภัตตาคารซิซซ์เลอร์แห่งแรก

2535 ตั้ง โรงงานผลิตเนยเพื่อป้อนให้กับพซิ ซ่า ฮัท และเปิดโรงงานไอศกรีม
เพื่อป้อนให้กับสเวนเซ่นส์

2536 บริษัท เดอะ พิซซ่า จำกัด เปิดสาขาที่ 100


2537 เริ่ม แนะนำบริการโทรศัพท์เบอร์เดียวสั่ง พิซซ่าทั่วทุกแห่ง

2538 เปิดแดรี่ควีน แห่งแรก

2540 เปิดร้านอาหารสาขาที่ 200 ในนามบริษัท เดอะ พิซซ่า จำกัด (มหาชน)

2542 เปิดตัวชิคเก้น ทรีท และเบอร์เกอร์คิง

            ดังนั้นกล่าวได้ว่าวันนี้ เดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป สามารถสร้างแบรนด์ตัวเองขึ้นมา
จากดั้งเดิมที่ซื้อแฟรนไชส์ฟาสต์ฟูดเข้ามาบริหารต่อมาก็กลายเป็น “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี”
และด้านธุรกิจโรงแรมก็สร้างแบรนด์ “อนันตารา” ขึ้นและประสบความสำเร็จทั้งสองแบรนด์
ของกลุ่ม ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และยังมีเป้าหมายจะขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบใหญ่ใน
เอเชีย-แปซิฟิกเช่นเดียวกับกล่มุ องค์กรธุรกิจชั้นนำรายอื่นของไทย

SCM กับเดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป 

           ซัพพลายเชนเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในโลกการค้า
ยุคใหม่ซึ่งด้วยศักยภาพของอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงเครือข่ายหรือห่วงโซ่ซัพพลายเชน
ในรูปแบบของ e-Supply Chain เข้าเป็นทีมเดียวกันอยู่ภายใต้ระบบและฐานข้อมูลเดียวกัน
แบบเรียลไทม์ (Real Time) สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ความใหญ่เล็ก
ขององค์กรจะไม่เป็นปัญหาในการแข่งขันทางการค้า

           โดยระบบที่ เดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป นำมาใช้ในการจัดการซัพพลายเชน
จะประกอบไปด้วยระบบหลักๆ 4 อย่างคือ

1. ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)
2. ระบบ POS (Point of Sale)
3. ระบบ Barcode
4. ระบบ CRM (Customer Relationship Management)

ระบบ ERP

           เป็นเทคโนโลยีบริหารกระบวนการธุรกิจโดยเฉพาะการเชื่อมโยง SCM โดยเน้น
การบูรณาการกระบวนการหลักของธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกรรมประจำวัน และ
ยังสนับสนุนกระบวนการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ด้วยการใช้สารสนเทศระหว่าง
พนักงานขายและฝ่ายปฏิบัติงาน ซึ่งสารสนเทศหลักประกอบด้วย ประวัติการขาย การจัดส่ง
สถานะคำสั่งซื้อ เป็นต้น


ระบบ POS และระบบ Barcode

           ทุกครั้งที่มีการซื้อขายหน้าร้านทุกสาขาทั่วประเทศ ระบบ POS ของแต่ละสาขา
ก็จะส่งข้อมูลการขายสินค้าส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่สำนักงานใหญ่ เมื่อทางสำนักงานใหญ่
รวบรวมข้อมูลการขายสินค้าต่างๆ ของแต่ละสาขาแล้ว ก็จะทำการเปิดใบสั่งซื้อไปยัง
ซัพพลายเออร์ผ่านระบบออนไลน์ให้กับซัพพลายเออร์รายย่อยและส่งให้ทางซัพพลายเออร์
ผู้ผลิตและจัดส่งสินค้ามายังศูนย์กระจายสินค้า ก่อนที่ทางศูนย์กระจายสินค้าจะทำหน้าที่คัดแยก

สินค้าและจัดส่งไปยังสาขาทั่วประเทศ

           โดยสินค้านั้นจะใช้ Barcode เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดสินค้า เพราะจะทำให้บริษัท
ทราบถึงข้อมูลรายละเอียดสินค้าผ่านรหัสใน Barcode





                ศูนย์กระจายสินค้าของไมเนอร์จะมี 2 แบบ คือ
                (1) เป็นของไมเนอร์เอง
                (2) ใช้บริการศูนย์กระจายสินค้าของ subcontract เพื่อสะดวกแก่การขนส่งสินค้า
ไปยังสาขาทั่วประเทศ

               โดยส่วนการจัดการด้านโลจิสติกส์และการจัดการสินค้าคงเหลือที่ไมเนอร์ กรุ๊ป 
ได้จ้าง subcontract เป็นผู้ดูแลได้ครอบคลุมถึงการควบคุมและคำนวณปริมาณการสั่งซื้อ
และการจัดเก็บให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมอีกด้วย

ระบบ CRM

           เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่องค์กรนำมาใช้เพื่อบริหารความสัมพันธ์
ของลูกค้ากับองค์กรตลอดวงจรชีวิตการเป็นลูกค้า ได้แก่ การตลาด การขาย การให้บริการ 
และการสนับสนุนโดยใช้ทรัพยากรด้านสารสนเทศ กระบวนการ เทคโนโลยี และบุคลากร 
โดยเน้นการสร้างประสานสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ demain chain management ผ่านการจัดโปรแกรม
เพื่อจูงใจลูกค้า เช่น การสะสมคะแนน การให้บริการตอบคำถาม (call center) การให้สิทธิประโยชน์ 
หรือส่วนลดต่างๆ เป็นต้น

           ในส่วนของทำเลที่ตั้งส่วนใหญ่จะอยู่ในศูนย์การค้าและแหล่งธุรกิจต่างๆ เพื่อให้ลูกค้า
สะดวกแก่การมาใช้บริการ รวมถึงมีการให้บริการจัดส่งถึงบ้าน (Delivery) โดยผ่านเบอร์ 1112
เบอร์เดียวได้ทั้งพิซซ่าและไอศครีมสเวนเซ่นส์ ซึ่งเมื่อพนักงานรับโทรศัพท์ เขาจะถามเบอร์
โทรศัพท์ของลูกค้าเพื่อนำเบอร์โทรศัพท์นั้นมาเป็น ID Number ของท่าน และเมื่อเขาคีย์
เบอร์โทรศัพท์ลงไป ข้อมูลต่างๆ และประวัติการสั่งซื้อของลูกค้าก็จะปรากฏบนจอและเขา
ก็สามารถจะเสนอขายหรือรับ Orderของลูกค้าได้ ทั้งนี้ประวัติล่าสุดที่ท่านสั่งมีอะไรบ้าง
พนักงานก็จะบอกลูกค้าได้ เผื่อลูกค้าจะสั่งแบบเดิม และเมื่อลูกค้าสั่งเสร็จ พนักงานก็จะทำ
การ cross-sell สินค้าในบริษัทให้ลูกค้าทราบทันที เช่น ขณะนี้เรามีไอศครีมสเวนเซ่นส์
กำลังลดราคา หากสั่งพร้อมพิซซ่านี้จะได้ส่วนลด 30 บาท ทันที เป็นต้น

            ส่วนของการให้บริการในร้านไมเนอร์ได้นำ PDA มาใช้ในการจดบันทึกรายการอาหาร
ที่ลูกค้าสั่งทำให้บริษัทสามารถนำข้อมูลที่ได้มาจัดอันดับอาหารที่ลูกค้าสั่งบ่อยๆ เพื่อจัดสต๊อก
สินค้าให้พอกับความต้องการของลูกค้า


             การจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นกระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบ การผลิตเป็นสินค้า
สำเร็จรูปจนกระทั่งส่งสินค้าจนถึงผู้บริโภค ทุกกระบวนการของระบบงานที่ทำต่อเนื่องกัน
และมีประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งเป็นการทำงานระหว่างองค์การที่เน้นกิจกรรมหลักๆ ที่ทำให้
ลูกค้าพึงพอใจสูงสุด โดยการบริหารกระบวนการ SCM ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้อง
นำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนและความร่วมมือกันของทุกฝ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น